การกำกับดูแลกองทรัสต์


บริษัทฯ ในฐานะผู้จัดการกองทรัสต์ตระหนักถึงความสำคัญของการกำกับดูแลกิจการที่ดี และเชื่อว่าการกำกับดูแลกิจการประกอบไปด้วย ระบบการบริหารจัดการที่ดี การมีคณะกรรมการและผู้บริหารที่มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ มีกลไกการควบคุมและถ่วงดุลอำนาจเพื่อให้การบริหารจัดการกองทรัสต์เป็นไปอย่างโปร่งใสตรวจสอบได้ การเคารพในสิทธิความเท่าเทียมกัน การกำหนดมาตรการป้องกันความขัดแย้งทางผลประโยชน์ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นและเกิดประโยชน์สูงสุดแก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายอย่างเป็นธรรม และบรรลุวัตถุเป้าหมายการดำเนินธุรกิจในระยะยาวได้อย่างยั่งยืน โดยการกำกับดูแลกิจการของกองทรัสต์คำนึงถึงหลักการสำคัญ ดังนี้

  1. ความรับผิดชอบต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์
    ผู้จัดการกองทรัสต์ตระหนักถึงหน้าที่ในการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิของผู้ถือหน่วยทรัสต์ทุกรายให้ได้รับสิทธิขั้นพื้นฐานตามที่กฎหมายกำหนด
  2. การเปิดเผยสารสนเทศและความโปร่งใส
    ผู้จัดการกองทรัสต์มีหน้าที่ในการเปิดเผยสารสนเทศอย่างครบถ้วน เพียงพอ เชื่อถือได้ และทันเวลา เพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์และผู้มีส่วนได้เสียได้รับสารสนเทศอย่างเท่าเทียมกัน ตลอดจนเปิดเผยรายงานและข้อมูลตามหลักเกณฑ์และประกาศที่กำหนด
  3. การปฏิบัติต่อผู้มีส่วนได้เสีย
    ผู้จัดการกองทรัสต์ตระหนักถึงสิทธิและความเท่าเทียมกันของผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่มตามสิทธิแห่งกฎหมายและแนวปฏิบัติที่ดี ได้แก่ ความรับผิดชอบต่อผู้เช่า ความรับผิดชอบต่อคู่ค้า และความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม
  4. ความขัดแย้งทางผลประโยชน์
    ผู้จัดการกองทรัสต์ให้ความสำคัญต่อการปฏิบัติหน้าที่ด้วยความซื่อสัตย์ สุจริต โดยไม่รับเงินหรือผลประโยชน์ตอบแทนใด ๆ เป็นการส่วนตัวไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม
  1. ประธานกรรมการเป็นกรรมการอิสระ และมีกรรมการจำนวน 3 (สาม) ท่าน ซึ่งเป็นไปตามคู่มือระบบการทำงานและระบบควบคุมภายในของบริษัท ซึ่งกำหนดให้มีกรรมการไม่น้อยกว่า 3 (สาม) ท่าน
  2. มีกรรมการอิสระอย่างน้อย 1 ใน 3 (หนึ่งในสาม) ของจำนวนกรรมการทั้งหมดของบริษัทและกรรมการของบริษัทจะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติและไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด

การประชุมคณะกรรมการ

ผู้จัดการกองทรัสต์กำหนดให้มีการจัดประชุมคณะกรรมการเพื่อพิจารณากิจการทั่วไปของบริษัทและกองทรัสต์อย่างน้อยไตรมาสละ 1 ครั้ง ในปี 2565 ได้จัดให้มีการประชุมทั้งรูปแบบประชุมด้วยตนเอง (Physical Meeting) และการประชุมผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-Meeting) จำนวน 5 ครั้ง โดยมีกระบวนการประชุมดังนี้

  1. บริษัทฯ จะจัดส่งหนังสือเชิญประชุม ระเบียบวาระการประชุม อย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม พร้อมเอกสารประกอบการประชุมที่มีเนื้อหาจำเป็นเพียงพอสำหรับการพิจารณาให้กรรมการแต่ละท่านล่วงหน้าก่อนการประชุม เพื่อให้กรรมการมีเวลาเพียงพอในการศึกษาข้อมูลก่อนการประชุมธุรกรรมที่สำคัญของกองทรัสต์ที่เสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการบริษัท
  2. ในการจัดประชุมคณะกรรมการจะจัดให้มีวาระการประชุมต่างๆ เพื่อให้คณะกรรมการบริษัทฯ พิจารณารับทราบ หรืออนุมัติดำเนินการในการดำเนินงานต่างๆ ได้แก่ ผลประกอบการของบริษัทฯ และกองทรัสต์ งบประมาณประจำปีของกองทรัสต์ การจ่ายประโยชน์ตอบแทนแก่ผู้ถือหน่วยทรัสต์ การจัดประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ การเข้าทำรายการที่เกี่ยวโยงกัน แผนธุรกิจ ตลอดจนความคืบหน้าในการดำเนินการตามแผนธุรกิจ เป็นต้น
  3. ในการประชุมทุกครั้งต้องมีกรรมการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าครึ่งหนึ่งของจำนวนกรรมการทั้งหมดและมติ ทั้งปวงของคณะกรรมการจะชี้ขาดตามเสียงข้างมากของกรรมการที่เข้าร่วมประชุม โดยในการออกเสียงลงคะแนนนั้น
  4. ในการประชุม ประธานกรรมการจะทำหน้าที่ดูแลจัดสรรเวลาอย่างเพียงพอที่ฝ่ายบริหารจะเสนอเอกสารและข้อมูลเพื่อการอภิปรายปัญหาสำคัญ และเพียงพอสำหรับคณะกรรมการที่จะอภิปรายในประเด็นที่สำคัญ โดยกรรมการทุกท่านมีอิสระในการแสดงความคิดเห็นและเสนอวาระการประชุม
  5. จัดทำบันทึกรายงานการประชุม และเก็บเอกสารเกี่ยวกับการประชุมให้ถูกต้องครบถ้วนและสามารถตรวจสอบได้ และจัดเก็บรายงานการประชุมที่ผ่านการรับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป

ผู้จัดการกองทรัสต์ให้ความสำคัญในการดำเนินการต่าง ๆ ด้วยความเสมอภาคและยุติธรรมต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ทุกกลุ่มอย่างเท่าเทียมกัน โดยข้อมูลภายในหรือข่าวอันมีสาระสำคัญต่อการเปลี่ยนแปลงราคาหน่วยทรัสต์ที่ไม่เปิดเผยสู่สาธารณะ ถือเป็นข้อมูลภายในและเป็นข้อมูลความลับ กรรมการ ผู้บริหารและพนักงานทุกระดับของบริษัท ฯ มีหน้าที่ต้องรักษาข้อมูลภายในไว้เป็นความลับไม่นำข้อมูลภายในที่ตนล่วงรู้จากการปฏิบัติหน้าที่ไปบอกผู้อื่น หรือนำไปใช้แสวงหากำไรหรือผลประโยชน์ในทางมิชอบ หรือทำให้กองทรัสต์เสียประโยชน์ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม โดยมีหลักการและแนวปฏิบัติในการใช้ข้อมูลภายใน การรักษาความลับของข้อมูล ดังนี้

  1. กรรมการ ผู้บริหาร และผู้สอบบัญชีของบริษัทต้องรายงานการถือครองหลักทรัพย์ต่อคณะกรรมการบริษัทเพื่อให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์และผู้ลงทุนทั่วไป มั่นใจว่ากรรมการและผู้บริหารของบริษัทดำเนินกิจการด้วยความซื่อสัตย์สุจริตมีความชัดเจน โปร่งใส และสามารถตรวจสอบได้
  2. กรรมการ ผู้บริหารของบริษัท (ตามนิยามของสำนักงาน ก.ล.ต.) และผู้บริหารระดับสูงของบริษัทและบริษัทย่อยมีหน้าที่ต้องรายงานการเปลี่ยนแปลงการถือหลักทรัพย์ต่อฝ่ายกำกับตรวจสอบ บริหารและจัดการความเสี่ยงล่วงหน้าอย่างน้อย 1 วัน ก่อนทำรายการและยื่นรายงานต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ภายใน 3 วันทำการ นับแต่วันที่มีการซื้อ ขาย โอน หรือรับโอนหลักทรัพย์นั้น ผ่านช่องทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ตามที่สำนักงาน ก.ล.ต. กำหนด เพื่อให้ฝ่ายกำกับ ตรวจสอบ บริหารและจัดการความเสี่ยงจัดทำสรุปรายงานต่อคณะกรรมการบริษัทและเปิดเผยข้อมูล ในรายงานประจำปี
  3. ห้ามมิให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัท ฯ ซื้อขายหลักทรัพย์ก่อนการประกาศงบการเงิน 1 เดือน และภายหลังจากที่ประชาชนได้รับทราบข้อมูลแล้ว 24 ชั่วโมง โดยทุกๆ 3 เดือน บริษัทจะแจ้งให้กรรมการและผู้บริหารของบริษัท ฯ ทราบถึงช่วงระยะเวลาในการห้ามซื้อขายหลักทรัพย์
  4. ห้ามมิให้กรรมการ ผู้บริหาร และพนักงานใช้โอกาสหรือข้อมูลที่ได้จากการเป็นกรรมการ ผู้บริหารหรือพนักงานของบริษัท ฯ ในการหาประโยชน์ส่วนตน และมิให้ใช้ข้อมูลภายในเพื่อประโยชน์ของตน หรือให้ข้อมูลภายในแก่บุคคลอื่น เพื่อประโยชน์ในการซื้อขายหน่วยทรัสต์

หลักการสำคัญในการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ

  1. ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศให้ถูกต้อง ครบถ้วน เชื่อถือได้ เพียงพอและทันเวลา
  2. จัดทำและเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศให้เป็นไปตามกฏ ระเบียบ ข้อบังคับอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง
  3. ดำเนินการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศและปฏิบัติต่อผู้ถือหน่วยทรัสต์หรือนักลงทุนอย่างเท่าเทียมกัน

ช่องทางการเปิดเผยข้อมูลสารสนเทศ

  • ฝ่ายนักลงทุนสัมพันธ์และสนับสนุนการปฏิบัติงาน

    มีหน้าที่ความรับผิดชอบในการจัดทำและเปิดเผยข้อมูลของกองทรัสต์ต่อสำนักงาน ก.ล.ต. ตลาดหลักทรัพย์ ทรัสตี และผู้ถือหน่วยทรัสต์ ตลอดจนการนำเสนอผลการปฏิบัติงาน รับฟังความข้อคิดเห็นและให้ข้อมูลที่เพียงพอต่อนักวิเคราะห์และนักลงทุน โดยสามารถติดต่อหรือศึกษาข้อมูลของกองทรัสต์ได้ที่

  • กิจกรรมพบนักลงทุน

    ผู้จัดการกองทรัสต์ได้จัดให้มีกิจกรรมเพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ถือหน่วยทรัสต์ นักวิเคราะห์หลักทรัพย์ และนักลงทุนทั่วไปได้พบผู้บริหารผ่านกิจกรรมเพื่อนำเสนอข้อมูลผลการดำเนินงาน ของกองทรัสต์ แผนกลยุทธ์ รวมถึงการตอบข้อซักถาม แต่เพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส Covid-19 ผู้จัดการกองทรัสต์ได้จัดกิจกรรมผ่านทาง Video Conference ดังนี้

    • ร่วมกิจกรรมบริษัทจดทะเบียนพบผู้ลงทุน (Opportunity Day) จัดโดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
    • การประชุมนักวิเคราะห์ (Analyst Meeting)

ผู้จัดการกองทรัสต์มีหน้าที่จัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์อย่างน้อย ดังต่อไปนี้

  1. การประชุมสามัญประจำปีซึ่งต้องจัดให้มีขึ้นภายใน 4 (สี่) เดือนนับแต่วันสิ้นรอบปีบัญชีของกองทรัสต์
  2. การประชุมวิสามัญ คือ การประชุมคราวอื่นที่มิใช่การประชุมสามัญประจำปีซึ่งจะจัดให้มีขึ้นเมื่อมีรายการหรือเหตุที่กำหนดไว้ ดังต่อไปนี้
    1. ก) เมื่อผู้ถือหน่วยทรัสต์ซึ่งถือหน่วยทรัสต์รวมกันไม่น้อยกว่าร้อยละ 10 (สิบ) ของจำนวนหน่วยทรัสต์ที่จำหน่ายได้แล้วทั้งหมดเข้าชื่อกันทำหนังสือขอให้ผู้จัดการกองทรัสต์หรือทรัสตีเรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ โดยระบุเหตุผลในการขอเรียกประชุมไว้อย่างชัดเจนในหนังสือนั้น ทั้งนี้ เมื่อมีผู้ถือหน่วยทรัสต์เข้าชื่อกันทำหนังสือขอให้มีการเรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์แล้ว ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ภายใน 1 (หนึ่ง) เดือนนับแต่ได้รับหนังสือจากผู้ถือหน่วยทรัสต์หรือได้รับแจ้งจากทรัสตี
    2. ข) ในกรณีเรื่องใดที่ทรัสตีเห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นหรือสมควรที่จะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์พิจารณาและมีมติในเรื่องนั้น ให้ผู้จัดการกองทรัสต์จัดให้มีการประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์ภายใน 1 (หนึ่ง) เดือนนับแต่ได้รับหนังสือจากทรัสตี ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิทรัสตีในการปรึกษาหารือกับผู้จัดการกองทรัสต์ถึงเหตุจำเป็นดังกล่าว
    3. ค) ในกรณีเรื่องใดที่ผู้จัดการกองทรัสต์เห็นว่าเป็นกรณีจำเป็นหรือสมควรที่จะเสนอเรื่องให้ที่ประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์พิจารณาและมีมติในเรื่องนั้นให้ผู้จัดการกองทรัสต์เรียกประชุมผู้ถือหน่วยทรัสต์เพื่อประโยชน์ในการจัดการกองทรัสต์ ทั้งนี้ ไม่ตัดสิทธิผู้จัดการกองทรัสต์ในการปรึกษาหารือกับทรัสตีถึงเหตุจำเป็นดังกล่าว

คณะกรรมการบริษัท หรือผู้ได้รับมอบหมาย (แล้วแต่กรณี) เป็นผู้คัดเลือกและแต่งตั้งผู้บริหารระดับกรรมการผู้จัดการโดยพิจารณาคัดเลือกผู้มีคุณสมบัติ ตลอดจนความรู้และประสบการณ์ตามหลักเกณฑ์และไม่มีลักษณะต้องห้ามตามที่กฎหมายกำหนด โดยมีเกณฑ์การพิจารณาดังนี้

  1. เป็นผู้ที่มีความรู้และประสบการณ์เพื่อรับผิดชอบในการปฏิบัติหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทรัสต์ โดยอย่างน้อยต้องมีผู้รับผิดชอบในสายงานเกี่ยวกับการดูแลจัดการทรัพย์สินของกองทรัสต์ ซึ่งมีความรู้และประสบการณ์ด้านบริหารจัดการลงทุนหรือการจัดหาผลประโยชน์จากอสังหาริมทรัพย์รวมกันเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 3 ปีภายในช่วงระยะเวลา 5 ปี
  2. ต้องเป็นผู้ที่ไม่มีลักษณะต้องห้ามตามประกาศคณะกรรมการกำกับตลาดทุนว่าด้วยลักษณะต้องห้ามของบุคลากรในธุรกิจตลาดทุน โดยอนุโลม

ค่าธรรมเนียมผู้จัดการกองทรัสต์

ตลอดระยะเวลาแห่งสัญญาแต่งตั้งผู้จัดการกองทรัสต์ ผู้จัดการกองทรัสต์จะได้รับค่าธรรมเนียมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นผู้จัดการกองทรัสต์ ดังนี้

รายการ เงื่อนไข
ค่าธรรมเนียมพื้นฐาน (Base fee) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 0.3 ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยมีการกำหนดอัตราขั้นต่ำที่ 12 ล้านบาทต่อปี (อาจมีการปรับขึ้นอัตราขั้นต่ำในกรณีที่มีการเพิ่มทุน อันส่งผลให้มีการเพิ่มงานหรือหน้าที่ของผู้จัดการกองทรัสต์)
ค่าธรรมเนียมผันแปร (Variable fee) ในอัตราไม่เกิน ร้อยละ 2 ของรายได้จากการลงทุนสุทธิหลังปรับปรุงแล้วของรายได้จากการลงทุนสุทธิหลังปรับปรุงแล้ว ซึ่งจะมีการชำระเป็นรายไตรมาส
ค่าธรรมเนียมในการได้มาซึ่งทรัพย์สินของกองทรัสต์ (Acquisition Fee) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 1 (หนึ่ง) ของมูลค่าทรัพย์สินที่ได้มาของกองทรัสต์ โดยไม่รวมถึงทรัพย์สินหลักที่ลงทุนครั้งแรกและทรัพย์สินที่กองทรัสต์ได้มาจากบริษัท นอร์ท สาธร เรียลตี้ จำกัด หรือ บริษัท เลิศรัฐการ จำกัด หรือบุคคลที่เกี่ยวโยงกัน ทั้งนี้ จะชำระให้เมื่อปรากฎว่ากองทรัสต์ได้มาซึ่งทรัพย์สินแล้ว
ค่าธรรมเนียมในการจำหน่ายไปซึ่งทรัพย์สินของกองทรัสต์ (Disposal Fee) ในอัตราไม่เกินร้อยละ 1 (หนึ่ง) ของมูลค่าที่ต่ำกว่าระหว่างทรัพย์สินที่จำหน่ายไปของกองทรัสต์ และราคาประเมินที่จัดทำโดยผู้ประเมินราคาที่มีอยู่ในบัญชีรายชื่อที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์

ค่าธรรมเนียมทรัสตี

ตลอดระยะเวลาแห่งสัญญาก่อตั้งทรัสต์ ทรัสตีจะได้รับค่าธรรมเนียมสำหรับการปฏิบัติหน้าที่ในการเป็นทรัสตีและผู้เก็บรักษาทรัพย์สินโดยได้รับค่าธรรมเนียมในอัตราไม่เกิน 0.3% ของมูลค่าทรัพย์สินสุทธิ โดยมีการกำหนดอัตราขั้นต่ำที่ 8 ล้านบาทต่อปี (อาจมีการปรับขึ้นอัตราขั้นต่ำในกรณีที่มีการเพิ่มทุน อันส่งผลให้มีการเพิ่มงานหรือหน้าที่ของทรัสตี)


ค่าธรรมเนียมผู้สอบบัญชี

ผู้จัดการกองทรัสต์ได้มีการแต่งตั้ง บริษัท เคพีเอ็มจี ภูมิไชย สอบบัญชี จำกัด เป็นผู้สอบบัญชีรับอนุญาตของกองทรัสต์ สำหรับงบการเงินประจำปี 2565 ตามมติที่ประชุมคณะกรรมการ บจก. เฟรเซอร์ส พร็อพเพอร์ตี้ คอมเมอร์เชียล แอสเสท แมนเนจเม้นท์ (ประเทศไทย) ครั้งที่ 2 ปีบัญชี 2565 ประชุมเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2564 และได้แจ้งต่อที่ประชุมสามัญผู้ถือหน่วยทรัสต์ ประจำปี 2565 แล้วเมื่อวันที่ 24 มกราคม 2565 ซึ่งเป็นผู้สอบบัญชีที่ไม่มีความสัมพันธ์หรือส่วนได้เสียกับกองทรัสต์ มีความเป็นอิสระต่อการปฏิบัติหน้าที่ตามวิชาชีพ

ค่าธรรมเนียมผู้สอบบัญชี
รายการ 2565 2564
ค่าสอบบัญชี 1,440,000.00 1,440,000.00
ค่าบริการอื่น 25,310.00 24,800.00
รวม (บาท) 1,465,310.00 1,464,800.00